
โลกของเราใบนี้มีประชากรหลายพันล้านคน ทำให้ไม่แปลกที่ทำให้บางครั้งจะเกิดข้อขัดแย้งขึ้นมากมาย ทั้งในประเทศเดียวกัน หรือต่างประเทศ ซึ่งเมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้นนั่นทำให้ต้องมีกระบวนการจัดการข้อขัดแย้งนั้น ซึ่งบางกรณีก็จบลงด้วยดี แต่บางกรณีก็จบไม่สวย วันนี้เราจะขอนำเสนออีกหนึ่งแนวทางการต่อสู้ที่น่าสนใจมากก็คือ ทางสายกลาง ชาวทิเบต กับ จีน ก่อนจะไปว่ากันเรื่องความขัดแย้ง เราต้องมาแนะนำตัวละครกันก่อน หนึ่งคือชาวทิเบตชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในจีนทางตอนเหนือ กับสอง ทางการจีน ทั้งสองมีความขัดแย้งกันเรื่องการปกครองตนเอง ชาวทิเบตเองต้องการที่จะเป็นรัฐปกครองตนเอง แต่ฝั่งชาวจีนนั้นไม่ยอมให้ทำแบบนั้น พวกเค้าต้องการให้ทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีน มีระบบการปกครองแบบจีน นั่นทำให้ทั้งสองมีความคิดเห็นแตกต่างกัน การต่อสู้แบบทางสายกลาง จากเรื่องราวที่เล่าไป อาจจะมองว่าทิเบตเองต้องการแยกตัวเองจากประเทศจีนได้แบบหนึ่ง หรือ มองว่าจีนต้องการจะเข้าไปควบคุมทิเบตในรูปแบบของการปกครองได้รูปแบบหนึ่ง เมื่อทั้งสองคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกันทำให้ต้องต่อสู้กันเพื่อหาข้อสรุปให้ได้ โดยปกติการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดน หรือ ต้องการปกครองตัวเองนั้น มักจะเป็นการต่อสู้ด้วยความรุนแรงก่อน ไม่ว่าจะเป็นสงครามการเมือง การก่อการร้าย ก่อนจะจบลงด้วยการเจรจา หรือไม่ก็ทำลายจนสิ้นซากไปข้างหนึ่ง แต่กรณีทิเบต กับจีน นั้นแตกต่างกันออกไป Read More …